ประวัติความเป็นมาของสถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี

1.ประวัติ

1.1 อำเภอรัตนบุรี

     อำเภอรัตนบุรี เดิมเป็นบ้านรัตนบุรีมีชื่อว่า “ บ้านหวาย  หรือบ้านกุดหวาย ” โดยเหตุที่บ้านนี้มีป่าหวายมากและตั้งอยู่ในดงไม้แก้ว จึงขนานนามว่า “ เมืองแก้วหรือบ้านรัตนบุรี ” ในสมัยนั้นมีหลวงศรีนครเตาท้าวเธอเป็นเจ้าเมืองรัตนบุรี ขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมา ปี พ.ศ.2458 จึงได้โอนขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์จนถึงปัจจุบัน

1.2 สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี

สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2449 ที่ริมถนนศรีนคร ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของธนาคารออมสิน สาขารัตนบุรี ต่อมาเมื่ออาคารดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมประกอบกับมีพื้นที่คับแคบ จึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ถนนสายรัตนบุรี – สำโรงทาบ  เมื่อปี พ.ศ.2510 ภายในพื้นที่ 25 ไร่เศษ  ครั้นเมื่อมีการประกาศยุบกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ เขต 2  จึงได้ใช้อาคารที่ทำการ – บ้านพัก ของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ เขต 2 เป็นที่ทำการจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ  26  ไร่


2. สภาพทั่วไป

2.1 ที่ตั้ง

สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี มีอาคารสถานที่ทำการใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 160 หมู่ที่ 8 ถนนศรีรัตน์ และอาคารสถานที่ทำการเดิมตั้งอยู่เลขที่ 45 หมู่ที่ 12 ถนนศรีนคร ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ ระยะทางประมาณ 72 กิโลเมตร

2.2 พื้นที่รับผิดชอบ

    สถานีตำรวจภูธรรัตนบุรี มีพื้นที่เขตรับผิดชอบทั้งสิ้น 272.812 ตารางกิโลเมตร จำนวน 9 ตำบล 121 หมู่บ้าน

2.3 ประชากร 

ในพื้นที่เขตรับผิดชอบมีประชากรรวมทั้งสิ้น 88,895 คน  เป็นชาย 44,423 คน เป็นหญิง 44,472 คน

2.4 ตำรวจ 1 คน ต่อประชากร 1,347 คน  ตำรวจ 1 คนรับผิดชอบ 4.1 ตารางกิโลเมตร

2.5 อาณาเขต

      – ทิศเหนือ  ติดต่อกับพื้นที่อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

      – ทิศใต้  ติดต่อกับพื้นที่อำเภอสนม และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์

      – ทิศตะวันออก  ติดต่อกับพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์ และกิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

    – ทิศตะวันตก  ติดต่อกับพื้นที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

2.6 ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นที่ราบสูง พื้นที่ตอนเหนือจดลำน้ำมูล ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม และตอนใต้ค่อนข้างเป็นที่ราบสูง ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่น ลอนตื้น มีที่ดอนสลับกับที่นาบางส่วน สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายเก็บน้ำได้ไม่ดี

2.7 สภาพทางภูมิอากาศ

     มีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1138 มิลลิเมตร/ปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ


3. สภาพทางเศรษฐกิจ

3.1 ด้านการเกษตรและปศุสัตว์

       ประชาชนในพื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะการปลูกข้าว ส่วนด้านการปศุสัตว์ มีการตั้งกลุ่มส่งเสริมสาธิตการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม และกระบือ

  3.2 ด้านอุตสาหกรรม

มีโรงสีข้าวขนาดกลางและขนาดเล็กกระจายอยู่ทุกตำบล และนอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมภายใน ครัวเรือนอยู่ทุกหมู่บ้านภายในพื้นที่

  3.3 ด้านพาณิชย์

      3.1 มีธนาคาร 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์  ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 

       3.2 มีสหกรณ์ 3 แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์โคเนื้อ สหกรณ์โคนม

       3.3 มีโรงรับจำนำ จำนวน  1  แห่ง

  3.4 ผลผลิตและรายได้ 

ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตร    และผลผลิตจากอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน  มีรายได้เฉลี่ยคนละประมาณ  13,339  บาท/ปี


4. สภาพทางสังคม

4.1 ด้านการศึกษา

มีสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  จำนวน  5  แห่ง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)  จำนวน  39  แห่ง  และโรงเรียนปริยัติธรรม  (สามัญ)  จำนวน  1  แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน  1  แห่ง

  4.2 ด้านศาสนา

        มีวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  21  แห่ง  สำนักสงฆ์  จำนวน  22  แห่ง 

  4.3 ด้านสาธารณสุข

มีโรงพยาบาลขนาด  120  เตียง  จำนวน  1  แห่ง  สำนักงานสาธารณสุข  1  แห่ง  และสาธารณสุขชุมชน  9  แห่ง  สำหรับไว้บริการประชาชนในพื้นที่ 

  4.4 ด้านการบริหารส่วนท้องถิ่น

มีเทศบาลตำบล  1  แห่ง  และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  จำนวน   9   แห่ง

  4.5 ด้านการคมนาคม

มีเส้นทางรถยนต์สายสำคัญที่ใช้ในการติดต่อกับพื้นที่อื่นๆ  ดังนี้

– สายที่ 1  รัตนบุรี – ท่าตูม – จอมพระ – สุรินทร์  ระยะทาง  72  กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง

– สายที่ 2 รัตนบุรี – ศีขรภูมิ – สุรินทร์  ระยะทาง  76  กิโลเมตร  เป็นทางลาดยาง

– สายที่ 3 รัตนบุรี – อุทุมพรพิสัย – ศรีสะเกษ  ระยะทาง  60  กิโลเมตร   เป็นทางลาดยาง

– สายที่ 4 รัตนบุรี – สำโรงทาบ  ระยะทาง  46  กิโลเมตร   เป็นทางลาดยาง


5. หน่วยงานราชการที่สำคัญในพื้นที่

5.1 ศาลจังหวัดรัตนบุรี   

5.2 สำนักงานอัยการจังหวัดรัตนบุรี

5.3 เรือนจำจังหวัดรัตนบุรี     

5.4 ที่ว่าการอำเภอรัตนบุรี

5.5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 

5.6 สำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์  สาขาอำเภอรัตนบุรี

5.7 สำนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์  สาขาอำเภอรัตนบุรี     

5.8 สำนักงานเกษตรอำเภอรัตนบุรี

5.9 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตนบุรี   

5.10 สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอรัตนบุรี

5.11 สำนักงานประปารัตนบุรี   

5.12 โรงพยาบาลอำเภอรัตนบุรี

5.13 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอรัตนบุรี 

5.14 หน่วยจัดการน้ำห้วยแก้ว (บ้านผือ)

5.15 หน่วยป้องกันและรักษาป่าไม้ที่  สร.5  (บ้านหนองคู)   

5.16 สำนักงานบังคับคดี


6. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

มีการจัดการระบบงานสายตรวจในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม  ดังนี้.-

  6.1 สายตรวจประจำตำบล  จัดแบ่งเป็น  ๓  เขตตรวจ

  6.2 สายตรวจรถจักรยานยนต์  จัดแบ่งเป็น  ๑  เขตตรวจ

  6.3 สายตรวจรถยนต์  1  สาย

  6.4 สายตรวจจราจร   1  ชุด

  6.5 ชุดชุมชนและมวลชนสัมพันธ์  1  ชุด

  6.6 ตู้ยามบริการประชาชน  4  แห่ง

7. การปกครองและบังคับบัญชา

ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 537/2555 ลงวันที่ 27 กันยายน 2537 กำหนดหน้าที่ของตำแหน่งในสถานีตำรวจ  การปกครองบังคับบัญชาจัดให้เป็นตามสายงานปกติ  และปกครองบังคับบัญชา  ตามนัยคำสั่ง  1212/2537  ลงวันที่  1  ตุลาคม  2537  โดยมีการบังคับบัญชาเป็นหมวดหมู่  มีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรควบคุมกำกับ  ดูแล  เป็นลำดับ  มอบหมายการปกครองบังคับบัญชาระดับรองสารวัตร  หรือสารวัตร  รับผิดชอบ  หรือร่วมกันรับผิดชอบในการปกครองหรือกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาในการปกครอง